วัดอโศการาม

0
18

ประวัติวัดอโศการาม

วัดอโศการามตั้งอยู่บนพื้นที่ “นาแม่ขาว” เจ้าของที่ดิน ชื่อ นางกิงหงษ์ และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินสร้างวัดประมาณ 53 ไร่
เมื่อปี พ.ศ.2497 จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้เริ่มตั้งสำนักขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้พระลูกศิษย์ คือพระครูใบฎีกาทัศน์ มาเฝ้าสำนักแทน พร้อมกับลูกศิษย์อีก ๕ รูป รวมมีพระที่สำนักนี้ในครั้งเริ่มตั้ง

จำนวน ๖ รูป”

ท่านพ่อลีได้เริ่มก่อตั้งสำนักสงฆ์ เน้นวัตรปฏิบัติในทางธุดงค วัตรอันสืบเนื่องจากท่านได้มีนิมิตว่าเป็นบริเวณ ที่บรรจุพระบรมธาตุ การที่วัดนี้ได้ชื่อว่าวัดอโศการาม เพราะท่านพ่อลีประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์ระลึกถึงคุณพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์ของอินเดียที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนามายังแถบเอเชียโดยเฉพาะประเทศไทยท่านพ่อลีได้คิดตั้งชื่อวัดนี้ไว้ตั้งแต่ครั้งที่ท่านจำพรรษาอยู่ในตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี

เมื่อออกพรรษาและได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯ เรียบร้อยแล้ว เป็นปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านพ่อลี จึงได้ออกไปจำพรรษาที่วัดอโศการาม ในระหว่างนี้ได้เริ่มคิดดำริจัดงานฉลองสมโภช ๒๕ พุทธศตวรรษ ในปีพ.ศ.๒๕๐๐ การดำริในเรื่องนี้ ท่านได้ดำริมานานปีแล้ว คือเริ่มดำริตั้งแต่ปีที่ได้เดินทาง ออกมาจากดงบ้านผาแด่นแสนกันดาร (เชียงใหม่) วัดอโศการาม ได้รับการพัฒนาสืบเนืองมาโดยลำดับ แม้หลังท่านพ่อลีได้มรณะภาพไปแล้ว ( ปี พ.ศ.๒๕๐๔) ได้มีการขยายพื้นที่ออกไป ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของวิหารสุทธิธรรมรังสีในปัจจุบัน พร้อมกันนั้นก็ได้ทำการสร้างพระธุตังคเจดีย์ ที่ท่านพ่อได้วางแบบเอาไว้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เป็นปูชนียสถานประดิษฐานพระบรมสารีริธาตุ ไว้เป็นที่สักการะของเหล่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายชือว่า ” ธุตังคเจดีย์” เป็นเจดีย์หมู่ ๑๓ องค์วัดอโศการาม เป็นสถานที่ปฏิบ้ติธรรมกัมมัฏฐานภาวนา ที่ท่านพ่อลี ได้วางรากฐานไว้ เหล่าศิษยานุศิษย์ได้ปฏิบัติสืบ ๆ กันมาตราบเท่าทุกวันนี้ โดยเฉพาะหล้กอานาปานสติกัมมัฏฐานะ เป็นหลักฐาน ให้แก่ผู้สนใจได้ศึกษาทดลองปฏิบัติ จนเป็นที่น่าพอใจสมควรแก่การปฏิบัติของแต่ท่าน จวบจนปัจจุบัน

ชื่ออโศการาม

จากหมายเหตุที่ท่านพ่อได้ปรารภไว้ในหนังสือชีวประวัติของท่าน

ความว่า การตั้งชื่อวัดอโศการามนี้ มิใช่ได้คิดขึ้น ในคราวที่ตั้งได้คิดชื่อนี้ขึ้น ตั้งแต่ปีจำพรรษาอยู่ที่ตำบลสารนารถ เมืองพาราณสี ได้เอานามของท่านผู้มีคุณวุฒิ เป็นฉายาลักษณ์ของผู้ทรงคุณ ฉะนั้นจึงได้สร้างพระรูปนี้ขึ้นประกอบในนามของวัด เพื่อเป็นสวัสดิมงคลสืบต่อไป แต่ที่จริงชื่อวัดอันนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์เคยรับสั่งเล่าให้ฟัง อันเป็นสิ่งที่น่ากลัวจะไม่สำเร็จในงานอันนั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ได้ทำรายงานยืน ไปตามระเบียบการคณะสงฆ์ ก็ไม่มีท่านสังฆมนตรีองค์ใดองค์หนึ่งคัดค้าน ว่าไม่เหมาะสม เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็พอใจ

แนะนำสถานที่

พระธุตังคเจดีย์

พระธุตังคเจดีย์ได้สร้างตามแบบที่ท่านพ่อลีกำหนดไว้ทุกปราการ คือ เจดีย์หมู่รวมเจดีย์ 13 องค์ เป็นสัญลักษณ์แห่ง “ธุดงควัตร 13 ข้อ” ตั้งอยู่บนพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัส ชันบนตรงกลางเป็นพระเจดีย์ใหญ่ ซึ่งเป็นองค์ประธาน พระเจดีย์ทุกองค์มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในผอบทอง เงิน นาก พระเจดีย์องค์ประธานล้อมรอบ ด้วยบริวาร 3 ชั้น ชั้นละ 4 องค์ มีความหมายถึง

สมาธิจิต เมื่อเป็นตามอรนิยมรรคโดยถูกต้องครบถ้วนแล้วจุเกิดญาณหยั่งรู้สังขารทั้งปวงตามความเป็นจริง พระธุตังคเจดีย์ มีฐานสี่เหลี่ยมเปรียบด้วยมหาสติปัฎฐาน 4 กว้าง 3 วา หมายถึง ไตรสิกขา สูง 13 วา หมายถึง ธุดงควัตร 13 ประการ เมื่อมองประสานตรง ๆ จะเห็นเจดีย์ล้อมวงเป็นคู่ หมายถึง พระธรรมกับพระวินัย อันเป็นหลักของพระพุทธศาสนา แต่ถ้าดูแนวเฉียงจะได้พระเจดีย์ 7 องค์ หมายถึง โพชฌงค์ 7 ประการ
พระธุตังคเจดีย์ เป็นเจดีย์หมู่ 13 องค์ 3 ชั้น แห่งเดียวในประเทศไทยที่เป็นสัญลักษณ์และมีความหมายใน ธุดงควัตร 13 ข้อ ในพระพุทธสาสนาของกรรมฐาน พระพุทธเจ้าตรัสไว้เพื่อพวกเราทั้งหลายปฏิบัติ เพื่อสละโลกามิส ไม่ติดอยู่ในบ่วงของโลก คือ บุตร ภรรยา สามี ทรัพย์สมบัติ ยศศักดิ์ ชื่อเสียง อันเป็นเครื่องยึดถือ หน่วงเหนี่ยวใจให้หลงทาง และก็ทะนงตนว่าสมบุรณ์ ฉลาดดี
การปฏิบัติธุดงค์ ต้องไม่อาลัยเสียดายในชีวิต ต้องปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จเพียงเท่านั้นเป็นที่หมาย ต้องมีสัจจะ และมีปัญญาในการเลือกปฏิบัติ เราไม่ต้องปฏิบัติทั้งหมด แต่เลือกเฉพาะข้อที่เห็นว่าเหมาะแก่กาล สถานที่ บุคคล และประกอบไปด้วยประโยชน์
ข้อปฏิบัตินี้ ดับความขี้เกียจได้ชะงัดนัก ตัดเครื่องผูกพันใจ เนื่องในความสุขในการนอน สุข ในการเอกเขนก สุขในความหลับ เมื่อไม่นอนย่อมสะดวกในการประกอบกรรมฐานทั้งปวง มีอิริยาบถอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส เหมาะสมที่จะทำความเพียร และความเพียรเพิ่มพูนดี
ธุดงควัตร 13 ข้อ

  1. การสมาทานผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
  2. การสมาทานธุดงค์ด้วยการถือใช้ผ้าเพียงสามผืนเป็นวัตร
  3. การสมาทานบิณฑบาตเป็นวัตร
  4. การเที่ยวไปบิณฑบาตลำดับเรือนเป็นวัตร
  5. การสมาทานถือธุดงค์การฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร
  6. การสมาทานฉันเฉพาะอาหารในบาตรเป็นวัตร
  7. การสมาทานไม่รับภัตรที่นำมาส่งทีหลังเป็นวัตร
  8. การสมาทานอยู่ป่าเป็นวัตร
  9. การสมาทานอยู่รุกขมูลโคนไม้เป็นวัตร
  10. การสมาทานถืออยู่กลางแจ้งเป็นวัตร
  11. การสมาทานอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร
  12. การสมาทานยินดีในเสนาสนะที่ถูกจัดให้เป็นวัตร
  13. การสมาทานไม่นอนเป็นวัตร

พระธุตังคเจดีย์
พระธุตังคเจดีย์ พระเจดีย์หมู่ 13 องค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างเมื่อ พ.ศ.2500 อุทิศเป็นอาจาริยานุสรณ์ท่านพ่อลี เจดีย์ 13 องค์ เป็นนัยแห่งธรรม กล่าวคือ ธุดงค์ 13 องค์คุณ เครื่องกำจัดกิเลสส่งเสริมความมักน้อย สันโดษข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจพึงสมาทานประพฤติได้มีดังนี้
หมวดที่ 1 จีวรปฏิสังยุตต์ (1) ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล (2) ใช้ผ้าเหลือง 3 ผืน
หมวดที่ 2 บิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (3) เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ (4) บิณฑบาตตามลำดับบ้าน (5) ฉันมือเดียว (6) ฉันเฉพาะในบาต (7)ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม
หมวดที่ 3 เสนาสนปฏิสังยุตต์ (8) ถืออยู่ป่า (9) อยู่โคนต้นไม้ (10) อยู่กางแจ้ง (11) อยู่ป่าช้า (12) อยู่ในที่แล้วแต่จัดให้
หมวดที่ 4 วิริยปฏิสังยุตต์ เกี่ยวกับความเพียร (13) คือ นั่งอย่างเดียวไม่นอน

      เจดีย์ประธานอยู่ตรงกลางขนาดใหญ่ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานในการบรรจุเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2509
      ปัจจุบันได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 มาจนเสร็จ โดยพระธรรมวิสุทธิกมล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เป็นองค์อุปถัมป์สร้าง และบรรจุพระธาตุพระอรหันต์ 26 องค์ พร้อมแสดงพระธรรมเทศนา และรับผ้าป่าสงเคราะห์โลกในงานเฉลิมฉลองโดยมีศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคราชกุมารี เสด็จทรงเป็นประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในวันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน 2251

ประวัติความเป็นมาของพระธุตังคเจดีย์
ด้วยมโนปณิธานมุ่งมั่นแน่วแน่ในทางพระพุทธสาสนา และด้วยกำลังแห่งญาณหยั่งทราบเหตุการณ์บางอย่างในอดีตชาติ
ปีพุทธศักราช 2482 ท่านพ่อลี ธมฺมธโร จึงตัดสินใจธุดงค์ไปยังประเทศอินเดียโดยผ่านทางประเทศพม่า เมื่อถึงอินเดียท่านได้เดินทางเที่ยวชม และพิจารณาสังเวชนียสถานตามตำบลต่าง ๆ ท่านรู้สึกสลดใจยิ่งนัก พระพุทธสาสนาเสื่อมสูญไปอย่างมาก ร่องรอยอารยธรรมอันประเสริฐอันเป็นทิฏฐานุคติ เหลือเพียงน้อยนิด พระสงฆ์ก็สุดที่จะย่อหย่อนในพระธรรมวินัย หลักฐานแห่งพระพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่เหลือเพียงศิลาจารึกของพระเจ้าอโสกมหาราชพอเป็นแนวทางให้ค้นคว้าและรำลึก
ปีพุทธศักราช 2493 ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ได้จาริกตามรอยบาทพระศาสดาไปยังดินแดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดียเป็นครั้งที่ 2 คราวนี้ท่านได้อยู่จำพรรษาที่ป่าอิสปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ แขวงเมืองพาราณสี
วันหนึ่งท่านบำเพ็ญเพียรในอิริยาบถ 4 เข้าสมาธิเพ่งดูยอดพระเจดีย์เป็นเวลานาน ครั้งนั้น…วาระจิตหวนรำลึกถึงระคุณของพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ซึ่งอุทิศชีวิตอุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธสาสนา ท่านเพ่งจิตอยู่นาน เกิดแสงสว่างจ้า วูบวาบ ส่องสว่างอาบไปทั่วบริเวณ มองเห็นต้นไม้ใบหญ้า และพระเจดีย์ ภาพนิมิตที่ปรากฎด้านหน้าท่าน คือ พระเจดีย์และพระสถูปที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างไว้อย่างงดงามอลังการยิ่งนัก แต่อีกไม่นาน พระเจดีย์ก็พลันทรุดโทรม หักพังทะลาย สูญสลาย แล้วคราทีนั้น ท่านก็พลันเห็นพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเสด็จมาส่องแสงประกายปรากฎสีสันวรรณะต่าง ๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์”
ท่านอาจารย์จึงคิดว่า “เราจักต้องสร้างวัดอโศการามและพระเจดีย์สักแห่งในประเทศไทย เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้มีคุณูปการต่อพระบวรพุทธศาสนาอย่างหาที่สุดมิได้”

วิหารสุทธิธรรมรังสี

วิหารสุทธิธรรมรังสี สร้างปี พ.ศ.2527 แบบตึกจตุรมุก 3 ชั้น ยอดพระวิหารเป็นมณฑปปิดทองคำบริสุทธิ์ เมื่อ พ.ศ.2530 ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุบนยอดมณฑป โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จแทนพระองค์ในการประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2530 ภายในพระวิหารชั้น 3 ปริดิษฐานพระปรธาน คือ “พระพุทธชินราชจำลอง” รูปหล่อหลวงพ่อปู่มั่น ภูริทตฺโต และสริระ ท่านพ่อลี ธมฺมธโร สิ่งที่ควรทำหลังจากที่ได้กราบสักการะพระธุตังคเจดีย์เสร็จแล้วก็คือ การไปกราบศพท่านพ่อลีซึ่งบรรจุเก็บไว้ภายในหีบทอง ตั้งอยู่บนแท่นประดับมุกอันสวยงาม บนชั้น 3 ของวิหารสุทธิธรรมรังสี มีพระพุทธชินราชจำลองเป็นพระประธานในวิหาร ทั้งยังมีพระพุทธรูป หุ่นรูปเหมือนครูบาอาจารย์ในสายพระป่ากรรมฐานอีกหลายรูป อาทิเช่น ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารสิงห์ ขนฺตฺยาคโม ตลอดจนรูปหล่อเหมือน สมเด็จพระพุฒาจาร (โต พฺรหฺมรงฺสี) เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์บริขารและหุ่นรูปเหมือนท่านพ่อลี จัดวางไว้ให้กราบไหว้บูชากันอีกด้วย วิหารหลังนี้นับเป็นวิหารเอนกประสงค์ โดยชั้นล่างใช้เป็นสถานที่จัดจังหันของพระภิกษุสามเณร และสำนักงานประชาสัมพันธ์ของวัด ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์บริขาร และที่ตั้งพระพุทธรูปกับหุ่นรูปเหมือนครูบาอาจารย์ไว้บูชา ชั้นที่ 3 มีพระประธานคือ “พระพุทธชินราชจำลอง” ณ ที่นี้เป็นที่ทำวัตรและที่ประชุมสงฆ์ ที่ตั้งศพของท่านพ่อลี และสร้างหุ่นรูปเหมือนครูบาอาจารย์ พระเถระองค์สำคัญ

พระเจ้าอโศกมหาราช หรือพระเจ้าศรีธรรมา

พระเจ้าอโศกมหาราช หรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแห่งประเทศอินเดีย ในสมัยพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วสองร้อยปีเศษ พระองค์ทรงมีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง พระอุปคุปต์มหาเถระได้พาพระเจ้าอโศกฯ เสด็จออกจากริกแสวงบุญสักการะบูชาสถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยเสด็จประทับทุกแห่ง พระเจ้าอโศกฯ ทรงสร้างอนุสรณ์สถานเป็นสัญลักษณ์พร้อมจารึกประวัติความเป็นมาให้อนุชนรุ่นหลังรำลึกถึงมาจนทุกวันนี้ พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระเจ้าอโศกฯ ได้แผ่ขยายไปทั่วพระราชอาณาจักร คณะสงฆ์ได้รับราชูปถัมป์และอุปถัมป์จากพระเจ้าอโศกฯ และคหบดีเป็นอย่างดี ลานอนุสาวรีย์พระเจ้าอโศกมหาราช ขนาดใหญ่กว่าองคจริง 2 เท่า สร้างเมื่อ พ.ศ.2538 “อโศการาม” เป็นชื่อที่ท่านพ่อลี ธมิมธโร เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดอโศการาม ได้นำชื่ออารามที่พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสร้างไว้ที่เมืองปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย มาเป็นชื่อของวัด พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์โมริยะ ประเทศอินเดีย ครองราชเมื่อปี พ.ศ.273 ต่อจากพระเจ้าพินทุสารฯ พระราชบิดา ท่านเป็นจอมจักรพรรดิแห่งชมพูทวีป ส่วนทางศาสนจักร ทรงเป็นธรรมิกราชาเป็นเอกอัครพทธศาสนูปถัมภกที่สมควรยิ่งที่จะได้รับการเทิดพระเกียรติยกย่องเทิดทูนพระมหากรุณาธิคุณจากพุทธสาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงเผยแผ่พระพุทธสาสนามายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลให้พระพุทธศาสนามายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลให้พระพุทธศาสนาดำรงตั้งมั่นในดินแดนแห่งนี้ เกือบเป็นเวลากว่า 2500 ปี