โครงสร้างทางเศรษฐกิจ/รายได้ประชากร
เศรษฐกิจของเทศบาลแบ่งเป็น 3 สาขาหลัก คือ สาขาอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม และสาขาการค้าและการบริการ ที่ผ่านมาโครงสร้างเศรษฐกิจได้ปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจนานาชาติมากขึ้น ทั้งนี้เกิดจากปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ การขยายตัวของการลงทุน การส่งออก และการท่องเที่ยว เป็นต้น
- สาขาอุตสาหกรรมได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้าง ไฟฟ้า ประปา
- สาขาเกษตรกรรมได้แก่ การกสิกรรม การประมง การบริการทางการเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร
- สาขาการค้าและการบริการได้แก่ การคมนาคมขนส่ง การค้าส่งและ ค้าปลีก ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย การบริหารราชการ และการบริการ โครงสร้างเศรษฐกิจของเทศบาลมีลักษณะที่เหมือนกับโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตในอัตราส่วนเพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาคเกษตรมีอัตราส่วนลดลง
ลักษณะอาชีพ
การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาล แต่เดิมส่วนใหญ่ทำนาข้าว ทำการประมง แต่ในปัจจุบันได้ประกอบอาชีพเลี้ยงปลา ทั้งนี้เพราะการทำนาข้าวไม่ได้ผล เนื่องจากมีศัตรูข้าวมารบกวนมาก และเก็บเกี่ยวได้เพียงฤดูเดียว จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงปลาและเลี้ยงกุ้ง ซึ่งได้ผลและแน่นอนกว่า นอกจากนั้นฝั่งทะเลน้ำเค็ม ราษฎรยังสามารถประกอบอาชีพการประมง จับกุ้ง จับปลาในทะเล ทำกะปิ น้ำปลา ออกจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม
เมื่อรัฐบาลได้กำหนดให้พื้นที่บริเวณเขตเทศบาลตำบลบางปู ตามแนวถนนสุขุมวิทเป็นเขตย่านอุตสาหกรรม และมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้น ราษฎรจึงหันมาประกอบอาชีพตามโรงงาน จึงทำให้ประชาชนในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และอื่น ๆ
ด้านเกษตรกรรม
ในอดีตพื้นที่เทศบาลมีสภาพที่เหมาะสมต่อการทำอาชีพทางการเกษตร เพราะมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม แต่ในขณะเดียวกันสภาพความได้เปรียบในการเป็นแหล่งขนถ่ายสินค้าทางเรือ รวมทั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินจากที่ดินเพื่อการเกษตรมาเป็นที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม ที่พักอาศัย ประกอบธุรกิจการค้า การพาณิชยกรรม ซึ่งส่งผลให้ราคาที่ดินสูงขึ้น รวมทั้งเกษตรกรบางรายได้ขายที่ดินการเกษตรให้นายทุน ดังนั้นพื้นที่เพื่อการเกษตรจึงลดลงเป็นลำดับ ประกอบกับพื้นที่การเกษตรที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชนมักได้รับความเสียหายจากน้ำเสีย และสารพิษที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ทั้งคลองชลประทาน และแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเกษตร โดยเฉพาะการเลี้ยงปลาและการประมง
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ กระท้อน กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ขนุน ชมพู่ ตะลิงปิง ทับทิม น้อยหน่า และฝรั่ง
การเกษตรกรรมในเขตเทศบาลแยกได้ดังนี้
1. | พื้นที่ถือครองทั้งหมด | 51,801 | ไร่ |
2. | พื้นที่การเกษตร | 10,580 | ไร่ |
3. | ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรม | 240 | ครัวเรือน |
4. | พื้นที่ไม้ผล | 2,630 | ไร่ |
การพาณิชยกรรมและบริการ
ด้านพาณิชยกรรม/การบริการ เป็นด้านที่มีความสำคัญต่อเทศบาล กิจการประเภทบริษัท ห้างหุ้นส่วน เพื่อเป็นการตอบสนองให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาล ทั้งด้านการค้าส่งและการค้าปลีก นอกจากนี้ธุรกิจประเภทธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ ก็มีความสำคัญเช่นกัน สืบเนื่องจากมีการซื้อขายเปลี่ยนแปลงการเป็นเจ้าของที่ดินจากเกษตรกร เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาที่ดินเป็นประเภทอื่นๆ รวมทั้งธุรกิจประเภทการบริการและการขนส่ง
ทิศทางการค้าและการบริการในอนาคต มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเทศบาล ทั้งนี้จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดหน้าด่านของกรุงเทพมหานครกับภาคตะวันออก จึงทำให้เป็นศูนย์กลางด้านธุรกิจการค้า/การบริการที่สำคัญ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก จังหวัดสมุทรปราการเป็นที่ตั้งของสนามบินพาณิชย์นานาชาติอันดับสองของประเทศในอนาคต
สถานประกอบการด้านพาณิชยกรรม
ตลาดสด
ตลาดสด มี 6 แห่ง (เอกชน)
สถานีบริการเชื้อเพลิง
สถานีบริการเชื้อเพลิง มี 8 แห่ง
1. | ปั๊ม ป.ต.ท. | หมู่ที่ 1 | ตำบลท้ายบ้าน |
2. | ปั๊มเชลล์ | หมู่ที่ 1 | ตำบลท้ายบ้าน |
3. | ปั๊มเจท | หมู่ที่ 2 | ตำบลท้ายบ้าน |
4. | ปั๊มเชลล์ | หมู่ที่ 2 | ตำบลท้ายบ้าน |
5. | ปั๊มคาลเท็กซ์ | หมู่ที่ 1 | ตำบลท้ายบ้านใหม่ |
6. | ปั๊มคาลเท็กซ์ | หมู่ที่ 2 | ตำบลบางปูใหม่ |
7. | ปั๊มบางจาก | หมู่ที่ 2 | ตำบลบางปูใหม่ |
8. | ปั๊มเอสโซ่ | หมู่ที่ 6 | ตำบลบางปูใหม่ |
สถานประกอบการเทศพาณิชย์
โรงฆ่าสัตว์
โรงฆ่าสัตว์มี 2 แห่ง (เทศบาล 1 แห่ง , เอกชน 1 แห่ง)
สถานประกอบการด้านบริการ
โรงแรม
โรงแรมและสถานที่พัก มี 2 แห่ง
- โรงแรมบางปูอินน์ มี 98 ห้อง อยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 2 ตำบลบางปูใหม่ ทางเข้านิคมอุตสาหกรรมบางปู
- โรงแรม 444 มี 73 ห้อง อยู่ในพื้นที่ หมู่ 1 ตำบลบางปูใหม่ ตรงข้ามเมืองโบราณ
สถานบริการร้านอาหาร
ร้านอาหาร มี 11 แห่ง
1. | ร้านซีฟู้ด | หมู่ที่ 2 | ตำบลท้ายบ้าน |
2. | ร้านอาหารเพชรศรีฟ้า | หมู่ที่ 2 | ตำบลท้ายบ้าน |
3. | ร้านอาหารภูมิ | หมู่ที่ 1 | ตำบลบางปูใหม่ |
4. | ร้านอาหารนายหมา | หมู่ที่ 1 | ตำบลบางปูใหม่ |
5. | ร้านอาหารในสถานตากอากาศบางปู | หมู่ที่ 2 | ตำบลบางปูใหม่ |
6. | ร้านอาหารสวนวัฒนา | หมู่ที่ 7 | ตำบลบางปูใหม่ |
7. | ร้านอาหารบุญรอด | หมู่ที่ 1 | ตำบลบางปูใหม่ |
8. | ร้านอาหารง่วนเฮง | หมู่ที่ 1 | ตำบลบางปูใหม่ |
9. | ร้านอาหารโพธิ์ทะเล | หมู่ที่ 1 | ตำบลบางปูใหม่ |
10. | ร้านอาหารพลอยทะเล | หมู่ที่ 1 | ตำบลบางปูใหม่ |
11. | ร้านอาหารบัวตอง | หมู่ที่ 2 | ตำบลบางปู |
สถาบันการเงิน
ธนาคารพาณิชย์ มี 7 แห่ง
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาตำบลท้ายบ้านใหม่
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาตำบลบางปูใหม่
- ธนาคารนครหลวงไทย
- ธนาคารศรีนคร
สถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข
สถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข มีจำนวน 57 แห่ง
สถานที่สะสมอาหาร 429 แห่ง
การอุตสาหกรรม
พื้นที่เทศบาลตำบลบางปู มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมแก่การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม เพราะมีความสะดวกในการขนส่งสินค้าจากจังหวัดสมุทรปราการไปยังท่าเรือในกรุงเทพมหานคร ตลอดจนสามารถหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตทางด้านวัตถุดิบและอื่น ๆ ส่งผลให้นักลงทุนสนใจมาลงทุน ทำให้เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของจังหวัด และจากการเป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก จึงมีแรงงานหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในเขตเทศบาลมากเช่นกัน ทำให้เกิดความต้องการด้านสินค้า การบริการ การขนส่ง อีกทั้งความต้องการด้านที่พักอาศัย มีการขยายตัวเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นนอกจากการอุตสาหกรรมเป็นด้านที่สำคัญ และสามารถสร้างรายได้ให้แก่เทศบาลมากกว่าการประกอบการด้านอื่น ๆ แล้วยังมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ การสาธารณูปโภค การค้า การคมนาคมขนส่ง การก่อสร้าง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น โดยพื้นที่อุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่
นิคมอุตสาหกรรมบางปู
เนื้อที่ทั้งหมดของนิคมอุตสาหกรรมบางปู มีจำนวน 4,000 ไร่ อยู่ในความรับผิดชอบที่เชื่อมต่อกันระหว่างเทศบาลตำบลบางปู เทศบาลตำบลแพรกษา และองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษา แบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมทั่วไปประมาณ 3,400 ไร่ เขตอุตสาหกรรมส่งออกประมาณ 270 ไร่ เขตพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัยประมาณ 250 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่สาธารณูปโภคและโรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง การร่วมลงทุนแบ่งเขตได้ดังต่อไปนี้
ข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรม มีโรงงานอุตสาหกรรม รวม 412 ราย (ผู้ที่มาขอต่อใบอนุญาต) แยกได้ดังนี้
โรงงานผลิตเหล็กและอุปกรณ์ | 69 | แห่ง | |
โรงงานผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ไฟฟ้า | 11 | แห่ง | |
โรงงานผลิตของใช้ด้วยพลาสติก | 12 | แห่ง | |
โรงงานผลิตสารเคมี และยาฆ่าแมลง | 23 | แห่ง | |
โรงงานสะสมน้ำมันเชื้อเพลิง | 6 | แห่ง | |
โรงงานอุตสาหกรรมรวม | 8 | แห่ง | |
โรงงานผลิตอุตสาหกรรมก่อสร้าง | 7 | แห่ง | |
โรงงานผลิตอลูมิเนียม | 6 | แห่ง | |
โรงงานสะสม แก๊ส | 10 | แห่ง | |
โรงงานทอผ้า | 35 | แห่ง | |
กลุ่มโรงงานฟอกหนัง | 99 | แห่ง | |
กลุ่มผลิตอาหาร | 30 | แห่ง | |
กลุ่มอื่น ๆ รวมทั่วไป | 96 | แห่ง |